คลินิกขาเทียม
-
ตรวจประเมินและวางโปรแกรมการรักษาโดย
แพทย์เวชกรรมฟื้นฟู -
ให้บริการทำขาเทียม
โดยนักกายอุปกรณ์
สิทธิ บัตรทองผู้พิการ ข้าราชการ(เบิกจ่ายตรงกรมบัญชีกลาง) และ ประกันสังคม
สามารถเข้ารับบริการทำขาเทียมได้โดยไม่มีค่าใช่จ่ายและ ไม่ต้องสำรองจ่าย
คลินิกขาเทียมโรงพยาบาลบางกรวย 2
แพทย์หญิงเพ็ญแข โกไสยสุวรรณ
วุฒิบัตร สาขาเวชศาสตร์ฟื้นฟู
นายศุวริศ นู
นักกายอุปกรณ์
นักกายภาพบำบัด
- นางวรัชยา ธีรฉัตรวัฒน์
- นายเกษมกิตติ์ จรัสธรรมทัศน์
- น.ส.วรัญชลี อรุณบรรเจิดกุล
- น.ส.นัยภัคน์ ขุนขจี
- น.ส.กฤตติยา เชาวนิตย์
- น.ส.ภุมรี แข็งแรง
เปิดบริการ วันจันทร์- วันศุกร์ เวลา 08.00 – 16.00 น.
นอกเวลาทำการ เวลา 16.30-20.00 น.
สถานที่ให้บริการ โรงพยาบาลบางกรวย 2 ชั้น 5
เบอร์โทรติดต่อเพื่อนัดหมาย 02-447-5582-3 ต่อ 2408 2409
ขั้นตอนการเข้ารับบริการ
สำหรับผู้ป่วยที่มีสัญชาติไทย สามารถเข้ารับบริการ ขอทาเทียมฟรี ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และไม่ต้องสำรองจ่าย สำหรับสิทธิการรักษาดังนี้
– ข้าราชการ (เบิกจ่ายตรงกรมบัญชีกลาง)
– ประกันสังคม
– บัตรผู้พิการ
เอกสารที่ต้องใช้ในการลงทะเบียนผู้ป่วย
– บัตรประจำตัวประชาชน
– บัตรประจำตัวผู้พิการ (ถ้ามี)
กระบวนการทำขาเทียม
1. นัดที่ 1
– ตรวจประเมิน วางโปรแกรมการรักษาและสั่งการรักษา โดยแพทย์เวชกรรมฟื้นฟู
– หล่อแบบขาเทียม โดยนักกายอุปกรณ์
– หากผู้ป่วยมีความจำเป็นต้องเข้าโปรแกรมกายภาพบำบัดเพื่อเพิ่มความเเข็งแรงและระบบกระดูกและข้อก่อน ผู้ป่วยจะถูกส่งเข้างานกายภาพบำบัด เพื่อรับการรักษาก่อนหล่อแบบขาเทียมในภายหลัง
2. นัดที่ 2
– ทดลอง / ปรับแต่ง / ฝึกการใช้งานขาเทียมใหม่ โดยนักกายอุปกรณ์
3. นัดที่ 3
– ส่งมอบขาเทียมให้ผู้ป่วย โดยแพทย์และนักกายอุปกรณ์
สิ่งสำคัญของการให้การรักษาทางกายอุปกรณ์ขาเทียมกรณีที่ผู้ป่วยมีภาวะโรคแทรกซ้อนอื่นๆ นั้นสำคัญมาก ไม่ว่าจะเป็นโรค หัวใจ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน และอื่นๆ การวางโปรแกรมการรักษาโดยทีมแพทย์และบุคคลากรทางการแพทย์ที่ถูกต้อง จึงเป็นสิ่งจำเป็นต่อผู้ป่วยและเป็นสิทธิพื้นฐานของผู้ป่วยที่สามารถเข้ารับบริการได้
การให้การรักษาทางกายอุปกรณ์เสริมเเละกายอุปกรณ์เทียม (ขาเทียม) ต่อผู้ป่วยที่มีระบบมาตรฐานทางการแพทย์ที่ดี ควรมีบุคลากรทางการแพทย์หลักอย่างน้อย สามสาขาวิชาชีพ ดังนี้
แพทย์เวชกรรมฟื้นฟู
ทำหน้าที่ ตรวจประเมินและวางแผนการรักษาตามหลักวิชาการโดยประเมินจากศักยภาพของผู้ป่วยทั้งก่อนและหลังการฟื้นฟู หากผู้ป่วยมีความจำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูและการรักษาโดยนักกายภาพบำบัดก่อน ผู้ป่วยจะถูกส่งต่อเข้าแผนกกายภาพบำบัดเพื่อฟื้นฟู ระบบโครงสร้าง(กระดูกและข้อ) รวมถึงรบบกล้ามเนื้อและความแข็งแรงของผู้ป่วยก่อนเข้ารับบริการทำขาเทียม
นักกายอุปกรณ์
ทำหน้าที่วางแผน และให้บริการการรักษาด้วยขาเทียม โดยพิจารณาข้อมูลและเลือกอุปกรณ์จากข้อมูลทางการแพทย์และการฟื้นฟูที่แพทย์เป็นผู้วางโปรแกรมการรักษา รวมถึงการหล่อแบบ/ ผลิต / ปรับแต่ง /การฝึกใช้ขาเทียม เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับและใช้อุปกรณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นักกายภาพบำบัด
ทำหน้าที่ ฟื้นฟูระบบโครงสร้างกระดูกและข้อ ระบบกล้ามเนื้อ รวมถึงความแข็งแรงของกล้ามเนื้อก่อนใช้ขาเทียมตามคำสั่งแพทย์ (กรณี ที่แพทย์ลงความเห็นว่าผู้ป่วยมีความจำเป็นต้องเข้าโปรแกรม Pre – Prosthetic training )
ทำไมต้องทำขาเทียมกับนักกายอุปกรณ์ และมีระบบการให้บริการทางการแพทย์?
นักกายอุปกรณ์ คือบุคคลกากรทางการแพทย์ที่จบจากสถาบันทางการแพทย์ซึ่งปัจจุบันในประเทศไทยมีมหาวิทยาลัยเดียว คือ มหาวิทยาลัยมหิดล
โดยนักกายอุปกรณ์ จะถูกขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขากายอุปกรณ์
ในการทำขาเทียมนั้นนักกายอุปกรณ์จะต้องศึกษาทั้งกระบวนการทางการแพทย์ ไม่ว่าจะเป็นภาวะของโรค การให้การรักษาทางกายอุปกรณ์เทียม (ขาเทียม)
กระบวณการวิศวะกรรมทางเทคโนโลยีในการผลิตและปรับใช้ทางกายอุปกรณ์เทียม รวมถึงระบบโครงสร้างกระดูกและกล้ามเนื้อ
ดังนั้นการเข้ารับการรักษาจากบุคลากรทางการแพทย์ ที่ตรงสาขาวิชาชีพจะสามารถสื่อสารวางแผนการรักษากับทีมผู้ให้การรักษาได้อย่างถูกต้องระหว่าง แพทย์เวชกรรมฟื้นฟู / นักกายอุปกรณ์ /นักกายภาพบำบัด / นักกิจกรรมบำบัด
เพื่อประโยชน์ต่อตัวผู้ป่วยในการดึงศักยภาพเเละฟื้นฟูผู้ป่วย เพื่อกลับเข้าสู่สังคมได้อย่างสูงสุด